วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556
วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556
รายงาน โครงการการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มหัตถกรรมสุขภาพบ้านหนองสมบัติ
issuu.com/kittavit/docs/k
รายงาน โครงการการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มหัตถกรรมสุขภาพบ้านหนองสมบัติ ต.นางลือ อ.เมือง จ.ชัยนาท
วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ส.2 สมมติฐาน (Resume)โครงการออกแบบพัฒนากราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์สินค้า
ส.2 สมมติฐาน (Resume)
จากการลงพื้นที่สัมภาษณ์และเก็บข้อมูลเบื้องต้น จึงทำให้ทราบถึงปัญหา
และความต้องการของผู้ประกอบการดังนี้ คือ
ปัญหาที่เกิดขึ้น
-รูปทรงสบู่มีขนาดที่ไม่เท่ากัน
-รูปแบบตัวอักษรไม่ชัดเจน
-การบรรจุภัณฑ์หีบห่อไม่ดี ไม่เรียบร้อย
-ตำแหน่งของราคาไม่เหมาะสม ติดไม่เป็นที่
-บอกส่วนสมและวิธีการใช้ไม่ชัดเจนมองเห็นยากไม่น่าอ่าน
ความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้
หลากหลายตามความต้องการของผู้ซื้อในท้องตลาด
ความต้องการในการออกแบบบรรจุภัณฑ์
-ควรมีขนาดของรูปทรงให้ได้มาตรฐานทุกก้อน
-ทางกลุ่มแม่บ้านได้เสนอความคิดเห็นให้มีขนาดสินค้าที่เล็กลงเพื่อง่าย
ในการตัดสินใจซื้อสินค้าเพื่อไปทดลองใช้และลด ค่าใช้จ่ายในการผลิต
ลดลงและง่ายต่อการจัดจำหน่าย
-ทำแพ็กเก็ตบรรจุภัณฑ์ให้ชัดเจนเพื่อง่ายต่อการจำหน่ายและผู้บริโภคเข้าใจในสินค้านั้น
-ภาพกราฟฟิกบนบรรจุภัณฑ์ไม่เป็นที่ดึงดูต่อกลุ่มลูกค้าเท่าที่ควร
-ควรมีโลโก้ของกลุ่มและตราสินค้าให้ชัดเจนกว่านี้
ภาพแบบคลี่ของบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบโดยคร่าว
รายละเอียดของกล่องบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบได้แก่
ความกว้างxความยาวxความหนาของกล่อง
5x5x2.5cm.
แบบเดิมก่อนพัฒนาโลโก้ บรรจุภัณฑ์
สบู่สมุนไพร Nuanyai Soap
แบบดั้งเดิมก่อนพัฒนา
แบบ idea sketch โลโก้ บรรจุภัณฑ์
สบู่สมุนไพร Nuanyai Soap
การออกแบบ LOGO Nuanyai
ภาพแบบคลี่ของบรรจุภัณฑ์ สบู่นวลใย
Nuanyai แบบ sketchUp
ส.1 สืบค้น (Research)โครงการออกแบบพัฒนากราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์สินค้า
โครงการออกแบบพัฒนากราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์สินค้า
ของกลุ่มหัตถกรรมสุขภาพบ้านหนองสมบัติ
ของกลุ่มหัตถกรรมสุขภาพบ้านหนองสมบัติ
อำเภอเมืองจังหวัดชัยนาท
…......................................................................................
ดำเนินงานตามกระบวนการ 3 ส.
ภาพที่ 1.1 ภาพแสดงวิธีการคิดและขั้นตอนการทำงาน ในแบบ Mind map
ส.1 สืบค้น (Research)
แนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
จากการที่ทำใช้เองภายในครัวเรือน และแจกจ่ายให้ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้านใช้ เห็นว่ามีผลดีมีความต้องการใช้มากขึ้น จึงผลิตเพิ่มมากขึ้น จึงเกิดการรวมตัวกันเพื่อจัดตั้งกลุ่มขึ้น เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากสมุนไพรไทย ที่มีอยู่ในท้องถิ่นหาได้ง่าย ราคาไม่แพง
โลโก้ของกลุ่มหัตถกรรมสุขภาพบ้านหนองสมบัติ
การศึกษาบรรจุภัณฑ์การวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์
และบรรจุภัณฑ์ด้วยวิธีการสังเกตและรับรู้ทางการมอง
Product and Package Visual Analysis
โดย นายกฤตวิทย์ จารุสมบัติ
ชื่อสินค้า: สบู่นวลใยสูตร มังคุด
ประเภท : สบู่สมุนไพรสกัดธรรมชาติ
สถานะผลิตภัณฑ์ : เป็นก้อนใส สีน้ำตาล
วิธีบริโภค : ใช้อาบน้ำทำความสะอาดผิวกายและผิวหน้า
ส่วนผสม : น้ำมันมะพร้าว + น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะกอก น้ำ
โซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือโซดาไฟ(ด่าง)
สารสกัดจากมังคุด น้ำหอมเล็กน้อย
ขนาด/มิติ : 5.5x7cm
ผู้ผลิต : สมาชิก กลุ่มหัตถกรรมสุขภาพบ้านหนองสมบัติ
ที่อยู่ : 193 หมู่ 3 ต.นางลือ อ.เมือง จ.ชัยนาท 17000
เบอร์โทรศัพท์ : 083-8729854 ,056-477201
สี : น้ำตาลเข็มใสๆ
ขนาด/มิติ : 7x5.5 cm.
รูปแบบการบรรจุภัณฑ์ : มีการบรรจุภัณฑ์โดยใช้พลาสติกใสห่อก้อนสบู่แล้วติดด้วยเทปใส
ตรงข้างก้อนสบู่ แล้วติดฉลากที่เป็นสติกเกอร์ด้านหน้าของก้อนสบู่
รูปแบบการขาย : ก้อน
ใช้เวลาในการผลิต ; 1 วัน
ราคา : 50 บาท
น้ำหนัก : 75 กรัม
การนำส่งสินค้า : ส่งขายในกลุ่มครัวเรือนและสำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอเมืองชัยนาท
3 วิเคราะห์ข้อมูลจากกราฟิก
องค์ประกอบของกราฟิก
ตัวอักษร(typographic)
- ภาษา : อังกฤษ
- ฟอนต์ : SR FahtalaiJone NP
สีของฟอนต์:สีขาวและสีน้ำตาล
พื้นหลัง: สีน้ำตาลและเหลืองเข็ม
สัญลักษณ์(symbol)
โลโก้ที่ปรากฎบนฉลากฉลาก:
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ โลโก้ของกลุ่มหัตถกรรมสุขภาพบ้านหนองสมบัติ
ข้อมูลที่อยู่บนบรรจุภัณฑ์
1 ตราสัญลักษณ์กลุ่มแม่บ้าน
2 ชื่อผลิตภัณฑ์ สบู่นวลใยมังคุด
3 ชื่อที่อยู่ของกลุ่มหัตถกรรม
4 ส่วนผสม
5 ตราสัญลักษณ์ otop
6 ตราสัญลักษณ์ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมการพัฒนาชุมชน
7 ราคา
8 วิธีการใช้
ภาพถ่าย(photography)
ภาพมังคุดซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักในการทำสบู่
ปัญหาที่เกิดขึ้น
ปัญหาที่เกิดขึ้น
-รูปทรงสบู่มีขนาดที่ไม่เท่ากัน
-รูปแบบตัวอักษรไม่ชัดเจน
-การบรรจุภัณฑ์หีบห่อไม่ดี ไม่เรียบร้อย
-ตำแหน่งของราคาไม่เหมาะสม ติดไม่เป็นที่
-บอกส่วนสมและวิธีการใช้ไม่ชัดเจนมองเห็นยากไม่น่าอ่าน
ความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้
หลากหลายตามความต้องการของผู้ซื้อในท้องตลาด
ความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้
หลากหลายตามความต้องการของผู้ซื้อในท้องตลาด
ความต้องการในการออกแบบบรรจุภัณฑ์
-ควรมีขนาดของรูปทรงให้ได้มาตรฐานทุกก้อน
-ทางกลุ่มแม่บ้านได้เสนอความคิดเห็นให้มีขนาดสินค้าที่เล็กลงเพื่อง่าย
ในการตัดสินใจซื้อสินค้าเพื่อไปทดลองใช้และลด ค่าใช้จ่ายในการผลิตลดลงและง่ายต่อการจัดจำหน่าย
ในการตัดสินใจซื้อสินค้าเพื่อไปทดลองใช้และลด ค่าใช้จ่ายในการผลิตลดลงและง่ายต่อการจัดจำหน่าย
-ทำแพ็กเก็ตบรรจุภัณฑ์ให้ชัดเจนเพื่อง่ายต่อการจำหน่ายและผู้บริโภคเข้าใจในสินค้านั้น
-ภาพกราฟฟิกบนบรรจุภัณฑ์ไม่เป็นที่ดึงดูต่อกลุ่มลูกค้าเท่าที่ควร
วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
กิจกรรมการเรียนการสอนวิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ 15-07-2556
เนื้อหาในการเรียน วันที่ 15-07-2556
ในสัปดาห์ที่ห้าอาจารย์ได้สั่งให้นักศึกษาบริหารการใช้Blogspot และในการจัดการblogต่างๆเพื่อการพัฒนาBlogของตัวเองให้ดียิ่งขึ้นและการใช้ภาษาควรเป็นภาษาอังกฤษโดยส่วนใหญ่เพื่อความเป็นสากล และได้แนะนำว่าการใช้Bolgger ในสมัยนี้สามารถใช้ได้กับ SmatPhon ได้แล้ว
และได้ให้นักศึกษาแต่ละกุล่มออกมานำเสนองานของแต่ละกลุ่มหน้าชั้นเรียน เพื่อฟังคำแนะนำจารอาจารย์ผู้สอนและนำไปพัฒนาสินค้าOTop ที่ได้ไปติดต่อค้นคว้ามา
Product and Package Visual Analysis
โดย นายกฤตวิทย์ จารุสมบัติ
1.วิเคราะห์ข้อมูลจากผลิตภัณฑ์
ชื่อผู้ประกอบกา: คุณไฉน มีมาก
สินค้าที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ : สบู่นวลใยสูตรมังคุด
ชื่อสินค้า: สบู่นวลใยสูตร มังคุด
ประเภท : สบู่สมุนไพรสกัดธรรมชาติ
สถานะผลิตภัณฑ์ : เป็นก้อนใส สีน้ำตาล
วิธีบริโภค : ใช้อาบน้ำทำความสะอาดผิวกายและผิวหน้า
ส่วนผสม : น้ำมันมะพร้าว + น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะกอก น้ำ โซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือโซดาไฟ(ด่าง)
มังคุง น้ำหอมเล็กน้อย
ขนาด/มิติ : 5.5x7cm
ผู้ผลิต : สมาชิก กลุ่มหัตถกรรมสุขภาพบ้านหนองสมบัติ
ที่อยู่ : 193 หมู่ 3 ต.นางลือ อ.เมือง จ.ชัยนาท 17000
เบอร์โทรศัพท์ : 083-8729854 ,056-477201
2.วิเคราะห์ข้อมูลจากโครงสร้างบรรจุภัณฑ์
สี : น้ำตาลเข็มใสๆ
ขนาด/มิติ : 7x5.5 cm.
รูปแบบการบรรจุภัณฑ์ : มีการบรรจุภัณฑ์โดยใช้พลาสติกใสห่อก้อนสบู่แล้วติดด้วยเทปใส
ตรงข้างก้อนสบู่ แล้วติดฉลากที่เป็นสติกเกอร์ด้านหน้าของก้อนสบู่
รูปแบบการขาย : ก้อน
ใช้เวลาในการผลิต ; 1 วัน
ราคา : 50 บาท
น้ำหนัก : 75 กรัม
การนำส่งสินค้า : ส่งขายในกลุ่มครัวเรือนและสำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอเมืองชัยนาท
3 วิเคราะห์ข้อมูลจากกราฟิก
องค์ประกอบของกราฟิก
ตัวอักษร(typographic)
-ภาษา : อังกฤษ
-ฟอนต์ : SR FahtalaiJone NP
สีของฟอนต์:สีขาวและสีน้ำตาล
พื้นหลัง: สีน้ำตาลและเหลืองเข็ม
สัญลักษณ์(symbol)
โลโก้ที่ปรากฎบนฉลากฉลาก:
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ โลโก้ของกลุ่มหัตถกรรมสุขภาพบ้านหนองสมบัติ
ภาพประกอบ(illustrator)
ข้อมูลที่อยู่บนบรรจุภัณฑ์
1 ตราสัญลักษณ์กลุ่มแม่บ้าน
2 ชื่อผลิตภัณฑ์ สบู่นวลใยมังคุด
3 ชื่อที่อยู่ของกลุ่มหัตถกรรม
4 ส่วนผสม
5 ตราสัญลักษณ์ otop
6 ตราสัญลักษณ์ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมการพัฒนาชุมชน
7 ราคา
8 วิธีการใช้
ภาพถ่าย(photography)
ภาพมะขามซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักในการทำสบู่
ปัญหาที่เกิดขึ้น
ปัญหาที่เกิดขึ้น
-รูปทรงสบู่มีขนาดที่ไม่เท่ากัน
-รูปแบบตัวอักษรไม่ชัดเจน
-การบรรจุภัณฑ์หีบห่อไม่ดี ไม่เรียบร้อย
-ตำแหน่งของราคาไม่เหมาะสม ติดไม่เป็นที่
-บอกส่วนสมและวิธีการใช้ไม่ชัดเจนมองเห็นยากไม่น่าอ่าน ความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายตามความต้องการของผู้ซื้อในท้องตลาด
ความต้องการในการออกแบบบรรจุภัณฑ์
-ควรมีขนาดของรูปทรงให้ได้มาตรฐานทุกก้อน
-ทางกลุ่มแม่บ้านได้เสนอความคิดเห็นให้มีขนาดสินค้าที่เล็กลงเพื่อง่ายในการตัดสินใจซื้อสินค้าเพื่อไปทดลองใช้และลด ค่าใช้จ่ายในการผลิตลดลงและง่ายต่อการจัดจำหน่าย
-ทำแพ็กเก็ตบรรจุภัณฑ์ให้ชัดเจนเพื่อง่ายต่อการจำหน่ายและผู้บริโภคเข้าใจในสินค้านั้น
-ภาพกราฟฟิกบนบรรจุภัณฑ์ไม่เป็นที่ดึงดูต่อกลุ่มลูกค้าเท่าที่ควร
ส.2 สมมติฐาน (Resume)
จากการลงพื้นที่สัมภาษณ์และเก็บข้อมูลเบื้องต้น จึงทำให้ทราบถึงปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการดังนี้ คือ
ปัญหาที่เกิดขึ้น
-รูปทรงสบู่มีขนาดที่ไม่เท่ากัน
-รูปแบบตัวอักษรไม่ชัดเจน
-การบรรจุภัณฑ์หีบห่อไม่ดี ไม่เรียบร้อย
-ตำแหน่งของราคาไม่เหมาะสม ติดไม่เป็นที่
-บอกส่วนสมและวิธีการใช้ไม่ชัดเจนมองเห็นยากไม่น่าอ่าน ความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายตามความต้องการของผู้ซื้อในท้องตลาด
ความต้องการในการออกแบบบรรจุภัณฑ์
-ควรมีขนาดของรูปทรงให้ได้มาตรฐานทุกก้อน
-ทางกลุ่มแม่บ้านได้เสนอความคิดเห็นให้มีขนาดสินค้าที่เล็กลงเพื่อง่ายในการตัดสินใจซื้อสินค้าเพื่อไปทดลองใช้และลด ค่าใช้จ่ายในการผลิตลดลงและง่ายต่อการจัดจำหน่าย
-ทำแพ็กเก็ตบรรจุภัณฑ์ให้ชัดเจนเพื่อง่ายต่อการจำหน่ายและผู้บริโภคเข้าใจในสินค้านั้น
-ภาพกราฟฟิกบนบรรจุภัณฑ์ไม่เป็นที่ดึงดูต่อกลุ่มลูกค้าเท่าที่ควร
-ควรมีโลโก้ของกลุ่มและตราสินค้าให้ชัดเจนกว่านี้
กิจกรรมสืบคนหาความรู้
ความเป็นมาของการบรรจุภัณฑ์
ในยุคหินเมื่อมนุษย์ล่าสัตว์ได้เขาก็จะใช้หนังสัตว์ หรือใบไม้ห่อหุ้มสัตว์ที่ล่ามาได้เพื่อป้องกันพวกแมลง แสงแดดและฝน นอกจากนี้ในการพกพาอาหารหรือวัตถุที่ต้องการ สิ่งที่ใช้ในการห่อหุ้มจะเป็น ใบไม้ เปลือกไม้ เปลือกหอย กระบอกไม้ กระเพาะสัตว์ หนังสัตว์ ฯลฯ เป็นต้น การรู้จักการแก้ปัญหาด้วยการนำเอาวัตถุดิบ (Raw Materials) จากธรรมชาติเจ้ามาเป็นอุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายวัตถุมวลสาร การกระทำดังกล่าวจึงนับว่าเป็นที่มาของการบรรจุ (Filling) ต่อมามนุษย์เริ่มรู้จักการประดิษฐ์ คิดค้นภาชนะบรรจุด้วยการดัดแปลงคุณสมบัติทางกายภาพของวัสดุธรรมธรรมชาติให้มีรูปร่างและหน้าที่ใช้สอยเพิ่มขึ้นนี่เอง จึงจัดว่าเป็นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ดั้งเดิม (Primitive Packaging Design) ที่มนุษย์ในสมัยก่อนได้กระทำขึ้นตามสภาพการเรียนรู้และการค้นพบวัสดุในแต่ละยุค
การออกแบบการบรรจุภัณฑ์ จึงเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการค้าและการบริการ ในฐานะของสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่การขนส่งสินค้า (Aid Transportation) โดยทำหน้าที่ขั้นพื้นฐานอันดับแรกคือ ปกป้อง คุ้มครองสินค้าให้ปลอดภัยจากความเสียหาย อันเนื่องมาจากการกระทบกระเทือน และป้องกันสิ่งปนเปื้อนที่ไม่พึงประสงค์ (To Prevent Spillage And Contamination) ที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งสินค้าผลิตภัณฑ์จากโรงงานผลิตไปจนกระทั่งถึงมือผู้บริโภค ซึ่งบทบาทนี้มีผลทำให้รูปแบบของบรรจุภัณฑ์ (Package Form) มีการพัฒนาขึ้นมารับรอง มีการออกแบบภาชนะบรรจุแบบปิด (Closed Container) เช่น ถังไม้ (Barrel) การรู้จักปิดผนึกบรรจุภัณฑ์ (Container Closure) เช่น มีฝาจุกปิดขวด (Bottle Plug Seals) ฯลฯ เป็นต้น เทคนิคและกรรมวิธีการบรรจุที่พัฒนาขึ้นตามหน้าที่ใช้สอยเหล่านี้ จึงเป็นผลทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลายลักษณะตามกาลเวลา และการค้นพบวัสดุหรือเทคโนโลยีที่นำมาใช้
ในราว ค . ศ . 1200 รูปแบบของการบรรจุภัณฑ์ ที่ปรากฏเป็นหลักฐาน ได้แก่
วัสด[ุMaterials]
รูปแบบและการใช้ [Package Form And Use]
หนัง[Leather]
การห่อ พับเป็น กระเป๋า ถุง
ผ้า [Cloth]
การห่อ พับเป็น ถุง กระสอบ
ไม้ [Wood]
ถังไม้ หีบ ไม้ ลัง กำปั่น
วัชพืชหรือผลิตภัณฑ์จากไม้[Grass/Split Wood]
ตะกร้า เสื่อ สิ่งทอ
หิน [Stone]
กาน้ำ คณโฑ
ดิน [Earthenware]
หม้อ ถ้วยชาม ฯลฯ
โลหะ [Metal]
หม้อ ถ้วยชาม กาน้ำ
แก้ว [Glass]
แก้วน้ำ ขวด ชาม คณโฑ
ในสมัยต่อมา เมื่อมีความก้างหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ ด้านศิลปศาสตร์และเทคโนโลยี เครื่องกลโรงงานต่าง ๆ ถูกคิดค้นพัฒนามากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงของการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม
(The Industrial Revolution) ที่เริ่มมาตั้งแต่ต้น ศตวรรษที่ 17 ทำให้ระบบการผลิตกลายเป็นการผลิตแบบขนานใหญ่ (Mass Production) และทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบของบรรจุภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ สามารถสนองความสะดวกสบายต่อการขนส่งสินค้า ความต้องการด้านความปลอดภัย ความรวดเร็ว ความต้องการสินค้าที่มีคุณภาพ และความต้องการความหลากหลายของสินค้า ฯลฯ จึงทำให้เกิดการตรากฎหมาย (Legislation) หน่วยบรรจุภัณฑ์ (Unit Packaging) ตราสินค้า (Brand Identification) และการโฆษณา (Advertising)
- มีการตรากฎหมายขึ้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ให้ผู้ผลิตเคารพในกรรมวิธีการผลิตที่สะอาดบริสุทธิ์และถูกต้องตามหลักสุขภาพอนามัย (Respect To Sanitation And Purity) ไม่ปิดป้ายฉลาก หลอกลวงผู้บริโภคเกินความจริง
- หน่วยบรรจุ เกิดขึ้นเพราะให้ความคุ้มครองผลิตภัณฑ์ได้ดีกว่า
- ตราฉลากสินค้าหรือยี่ห้อผลิตภัณฑ์ เริ่มมีความสำคัญเพราะทำให้ผู้บริโภคสามารถจดจำ และเลือกผลิตภัณฑ์ที่ต้องการตามคุณภาพได้
- ผู้บริโภคมีความรู้และประสบการณ์หลายด้านเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ หรือเลือกการบริโภคอย่างแพร่หลาย โดยผ่านวิธีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์
ปรากฏการณ์เหล่านี้ทำให้ตัวบรรจุภัณฑ์ (Package) เริ่มเข้ามามีบทบาทแทนพนักงานขายมีความสำคัญมากในฐานะ “ ตัวแสดงสินค้า ” (The Representation Of Product) ที่ต้องการแสดงให้ผู้บริโภคเห็นถึงเนื้อในหรือเนื้อหา (Content) ของสินค้าด้วยการให้ข้อมูลรายละเอียดของสินค้าบนหีบห่อ โดยใช้เทคนิควิธีการออกแบบสมัยใหม่ที่สามารถดึงดูดผู้บริโภคได้ ดังนั้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมาจึงมีการพัฒนากรรมวิธีการผลิตบรรจุภัณฑ์หรือภาชนะบรรจุ ความเร็ว ความเข้าใจด้านศิลปะ และกราฟิกดีไซน์
ด้วยเหตุและปัจจัยดังที่กล่าวมาแล้ว จึงเป็นผลให้เกิดอาชีพเฉพาะขึ้นในวงการอุตสาหกรรม คือ อาชีพนักออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Designer) ที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมานี้เอง ซึ่งนับว่าเป็นอาชีพใหม่ที่มีความสำคัญต่อวงการธุรกิจการค้าเป็นอย่างมาก ดังนั้น การออกแบบบรรจุภัณฑ์จึงเป็นวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับคนหลายวงการ หลายอาชีพ และหลายวิทยาการ (Multidiscipline Profession) กล่าวคือ นักออกแบบบรรจุภัณฑ์ต้องศึกษาหาความรู้
วิวัฒนาการการออกแบบบรรจุภัณฑ์ [THE EVOLUTION OF PACKAGING DESIGN]
มนุษย์เรามีวิวัฒนาการจากยุคหนึ่งมาสู่อีกยุคหนึ่ง เช่นนี้ตลอดมา สิ่งนี้จะส่งผลสะท้อนต่อปัจจัย หรือองค์ประกอบในการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก จากแรกเริ่มที่มนุษย์อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ และดำรงชีวิตง่าย ๆ ด้วยการอาศัยผลิตผลจากการเพาะปลูก หรือการเลี้ยงสัตว์เพียงจำนวนไม่มาก มีการพึ่งพาอาศัยและติดต่อกันในกลุ่มใกล้เคียงเท่านั้น ต่อมาเมื่อจำนวนประชากรมีมากขึ้น มีการแบ่งกลุ่มอาศัยออกเป็นหมู่เหล่า การผลิตเฉพาะเพียงบริโภคในครอบครัวเริ่มไม่พอเพียง จึงเริ่มมีระบบการแลกเปลี่ยนที่กว้างขวางขึ้น ในที่สุดระบบการผลิตก็เปลี่ยนรูปไปเกิดเป็นการผลิตแบบอุตสาหกรรม (Mass Production) ขึ้น การแลกเปลี่ยนสิ่งของเครื่องใช้ หรืออาหาร จึงขยายวงจากบุคคลใกล้เคียงไปเป็นการแลกเปลี่ยนกับบุคลในกลุ่มอื่น ในอาณาเขตที่กว้างขวางขึ้น
ในระยะแรกของการแลกเปลี่ยน การเคลื่อนย้ายสิ่งของเครื่องใช้ที่มีการแลกเปลี่ยน ก็อาศัยภาชนะตามพื้นบ้านที่ใช้กันอยู่ในครัวเรือนตามสะดวกแต่ต่อมาเมื่อการแลกเปลี่ยนขยายขอบเขตจนถึงขนาดมีการซื้อขายและขยายขอบเขตวงกว้างออกไปมาก ๆ บรรจุภัณฑ์ใหม่ ๆ จึงเริ่มเข้ามามีบทบาท เริ่มมีการคิดค้นและประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการในแต่ละกรณี เช่น ใช้ใบไม้มาทำกระทง ห่อขนม เอากิ่งไม้หรือเปลือกไม้มาสานทำกระจก ชะลอม ตะกร้า ฯลฯ ซึ่งบรรจุภัณฑ์เหล่านี้เป็นพื้นฐานมาจากการคิดค้นจากวัสดุธรรมชาติ และพัฒนามาเป็นบรรจุภัณฑ์ในยุคต่อ มา ซึ่งได้มีการคิดค้นวัสดุชนิดอื่น ๆ ที่จะสามารถตอบสนองประโยชน์ในการบรรจุภัณฑ์ได้กว้างขวาง และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
จากการศึกษาถึงวิวัฒนาการของบรรจุภัณฑ์ดังกล่าว เราจึงอาจแบ่งประเภทของบรรจุภัณฑ์ออกได้อย่างกว้าง ๆ เป็น 2 ประเภท คือ
1. บรรจุภัณฑ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ธรรมชาติได้สร้างหีบห่อขึ้นเพื่อป้องกันและรักษาผลผลิตทางธรรมชาติได้อย่างดีเยี่ยมและชาญฉลาด โดยสร้างให้มีความเหมาะสมกับผลผลิตแต่ละชนิดไป อาทิเช่น เปลือกผลไม้ เปลือกไข่ เป็นต้น
2. บรรจุภัณฑ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น เป็นบรรจุภัณฑ์ที่เกิดจากการที่มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น โดยได้คิดประดิษฐ์จากวัสดุต่าง ๆ เพื่อสนองประโยชน์นานาประการ เช่น เพื่อคุ้มครองป้องกันผลิตภัณฑ์เพื่อความสะดวกในการขนส่ง เพื่อการส่งเสริมการจำหน่าย ฯลฯ
สำหรับประเทศไทยเรา คำว่า “ บรรจุภัณฑ์ ” ดูจะเป็นคำใหม่ซึ่งคนไทยยังไม่คุ้นเคยนัก แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนไทยนับว่าเป็นนักออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีความสามารถยิ่ง จะเห็นได้จากวิธีการนำเอาวัสดุธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ได้อย่างดียิ่ง เช่น การใช้ใบกล้วย ใบตาล ทางมะพร้าว ใบเตย ฯลฯ มาคิดประดิษฐ์เป็นห่ออาหารแบบต่าง ๆ การจักสานภาชนะต่าง ๆ จากไม้ไผ่ หวาย ต้นหญ้า ปอ ฯลฯ บรรจุภัณฑ์เหล่านี้มีรูปร่างลักษณะสวยงาม แปลกตา และสามารถสนองประโยชน์ได้อย่างดีในแต่ละกรณี เหมาะกับการบรรจุสิ่งของต่าง ๆ เช่น อาหารทั้งที่เป็นของแห้งหรือมีน้ำ หรือสิ่งของที่ต้องการความปลอดภัยและความสะดวกในการเคลื่อนย้ายอื่น ๆ
จากการที่มนุษย์ได้คิดนำวัสดุที่มีตามธรรมชาติมาประดิษฐ์เป็นบรรจุภัณฑ์ใช้ในชีวิตประจำวันดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ความพยายามและความคิดสร้างสรรของมนุษย์ก็ยังไม่สิ้นสุดเมื่อเกิดความต้องการขยายให้กว้างขึ้น เช่น การขยายขนาด และจำนวนของสินค้า การเคลื่อนย้ายของใหญ่ ๆ จำนวนมากต้องการบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม และแม้เมื่อความเจริญก้าวหน้าทางด้านการตลาดมากขึ้น บรรจุภัณฑ์ก็เข้ามามีบทบาทใช้เป็นเครื่องมือในทางการตลาดด้วย เช่น ใช้เป็นเครื่องช่วยในด้านการส่งเสริมการจำหน่าย ดังนั้นจึงได้มีการค้นคว้าคิดประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์แบบใหม่ ๆ ตลอดจนปรับปรุง และค้นหาวัสดุที่ใช้ในการบรรจุให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น จนในที่สุดปัจจุบันเรามีวัสดุที่ใช้เพื่อการบรรจุภัณฑ์มากมายหลายชนิด อาทิเช่น กระดาษชนิดต่าง ๆ แผ่นโลหะ ใยสังเคราะห์ แก้ว พลาสติก ไม้ ฯลฯ
ความหมายของการบรรจุภัณฑ์ (Packaging)
การบรรจุภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการตลาด โดยเฉพาะปัจจุบันที่การผลิตสินค้า หรือบริการได้เน้นหรือให้ความสำคัญกับผู้บริโภค (Consumer Oriented) และจะได้เห็นว่าการบรรจุภัณฑ์มีบทบาทมากขึ้นเพราะลำพังตัวสินค้าเองไม่มีนวัตกรรม (Innvoation) หรือการพัฒนาอะไรใหม่อีกแล้ว ฉีกแนวไม่ออกเพราะได้มีการวิจัยพัฒนากันมานานจนถึงขั้นสุดยอดแล้ว จึงต้องมาเน้นกันที่บรรจุภัณฑ์กับการบรรจุหีบห่อ (Packaging) บรรจุภัณฑ์กับหีบห่อ (Package) ถือว่าเป็นคำคำเดียวกัน ทั้งนี้สุดแล้วแต่ผู้ใดประสงค์หรือชอบที่จะใช้คำใด
ความหมายของการบรรจุภัณฑ์หรือการบรรจุหีบห่อ (Packaging) ได้มีผู้ให้คำจำกัดความไว้มากมายพอสรุปได้ดังนี้
1. Packaging หมายถึง งานเทคนิคที่ต้องอาศัยความชำนาญ ประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ ในอันที่จะออกแบบและผลิตหีบห่อให้มีความเหมาะสมกับสินค้าที่ผลิตขึ้นมา ให้ความคุ้มครองสินค้า ห่อหุ้มสินค้าตลอดจนประโยชน์ใช้สอย อาทิเช่น ความสะดวกสบายในการหอบหิ้ว พกพาหรือการใช้ เป็นต้น
2. Packaging หมายถึง กลุ่มของกิจกรรมในการวางแผนเกี่ยวกับการออกแบบ การผลิตภาชนะบรรจุหรือสิ่งหุ้มห่อสินค้าบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับฉลาก (Label) และตรายี่ห้อ (Brand name)
3. Packaging หมายถึง ผลรวมของศาสตร์ (Science) ศิลป์ (Art) และเทคโนโลยีของการออกแบบ การผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้า เพื่อการขนส่งและการขายโดยเสียค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม
4. Packaging หมายถึง การใช้เทคโนโลยีและเศรษฐศาสตร์เพื่อหาวิธีการรักษาสภาพเดิมของสินค้าจนกว่าจะถึงมือผู้บริโภคคนสุดท้าย เพื่อให้ยอดขายมากที่สุดและต้นทุนต่ำสุด
5. Packaging หมายถึง กิจกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและผลิตรูปร่างหน้าตาของภาชนะบรรจุ สิ่งห่อหุ้มตัวผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์
6. Packaging เป็นทั้งศิลปะและวิทยาศาสตร์ ซึ่งถูกมองในหลายแง่โดยบุคคลฝ่ายต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตสินค้า กล่าวคือ ฝ่ายเทคนิคจะคิดถึงปฏิกิริยาระหว่างภาชนะบรรจุกับผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อม ฝ่ายผลิตจะพิจารณาต้นทุนและประสิทธิภาพของระบบการบรรจุ ฝ่ายจัดซื้อจะคำนึงถึงต้นทุนของวัสดุทางการบรรจุ และฝ่ายขายจะเน้นถึงรูปแบบและสีสันที่สะดุดตา ซึ่งจะช่วยในการโฆษณาผลิตภัณฑ์ ด้วยเหตุนี้ Packaging ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมจะเกิดขึ้นได้จากการประนีประนอมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ภาชนะบรรจุซึ่งมีน้ำหนักเบาและราคาต้นทุนต่ำ แต่ในขณะเดียวกันมีรูปแบบสวยงาม และให้ความคุ้มครองอย่างเพียงพอแก่ผลิตภัณฑ์ภายในได้
7. Packaging หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดในขบวนการทางตลาดที่เกี่ยวเนื่องกับการออกแบบสร้างสรรค์ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อให้กับผลิตภัณฑ์
8. Packaging หมายถึง การนำเอาวัสดุ เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว โลหะ ไม้ ประกอบเป็นภาชนะหุ้มห่อสินค้า เพื่อประโยชน์ในการใช้สอยมีความแข็งแรง สวยงาม ได้สัดส่วนที่ถูกต้อง สร้างภาพพจน์ที่ดี มีภาษาในการติดต่อสื่อสาร และทำให้เกิดผลความพึงพอใจจากผู้ซื้อสินค้า
ส่วนความหมายของ “ หีบห่อ ” “ บรรจุภัณฑ์ ” หรือ “ ภาชนะบรรจุ ” (Package) มีผู้ให้คำจำกัดความไว้มากมายเช่นกัน ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
1. Package หมายถึง สิ่งห่อหุ้มหรือบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งภาชนะที่ใช้เพื่อการขนส่งผลิตภัณฑ์จากแหล่งผู้ผลิตไปยังแหล่งผู้บริโภค หรือแหล่งใช้ประโยชน์ หรือวัตถุประสงค์เบื้องต้นในการป้องกันหรือรักษาผลิตภัณฑ์ ให้คงสภาพตลอดจนคุณภาพใกล้เคียงกันกับเมื่อแรกผลิตให้มากที่สุด
2. Package หมายถึง สิ่งที่ทำหน้าที่รองรับหรือหุ้มผลิตภัณฑ์ เพื่อทำหน้าที่ป้องกันผลิตภัณฑ์จากความเสียหายต่าง ๆ ช่วยอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการขนส่งและการเก็บรักษา ช่วยกระตุ้นการซื้อตลอดจนแจ้งรายละเอียดของผลิตภัณฑ์
นอกจากนี้ยังมีคำอีก 2 คำ ที่เกี่ยวข้องกับการบรรจุภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ คือ
1. การบรรจุภัณฑ์ (Packing) หมายถึง วิธีการบรรจุผลิตภัณฑ์ โดยการห่อหุ้ม หรือใส่ลงในบรรจุภัณฑ์ปิด หรือสิ่งอื่น ๆ ที่ปลอดภัย
2. ตู้ขนส่งสินค้า (Container) หมายถึง ตู้ขนาดใหญ่ที่ใช้ขนส่งสินค้า ซึ่งมีขนาดและรูปแบบแตกต่างกันตามวิธีการขนส่ง ( ทางเรือหรือทางอากาศ ) โดยทั่วไปจะมีขนาดมาตรฐานเป็นสากล คำว่า “ Container ” นี้อาจใช้ในความหมายที่ใส่ของเพื่อการขนส่งและจัดจำหน่าย ในปัจจุบัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)